top of page
รูปภาพนักเขียนmahasarakhamoffici

สงกรานต์ที่ไม่เหมือนเดิม

(English version below)

จอนนี่ นักศึกษาชาวอังกฤษ ที่มาเรียนสาขาภาษาไทยที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  จอนนี่รักเมืองไทยและภาคอีสานมาก จอนนี่เลยสนใจอยากจะเรียนรู้เกี่ยวกับเมืองไทย วัฒนธรรมไทย และวัฒนธรรมท้องถิ่นมากขึ้น  ปีที่แล้วจอนนี่ฉลองสงกรานต์กับเพื่อนๆ ด้วยการเล่นน้ำสงกรานต์เหมือนกับคนไทยและชาวต่างชาติคนอื่น ๆ  แต่ปีนี้ จอนนี่อยากรู้จักวัฒนธรรมท้องถิ่นลึกซึ้งมากขึ้น จอนนี่เลยขอไปเรียนรู้ว่าในวันสงกรานต์ครอบครัวคนอีสานทำอะไร  จอนนี่จึงไปที่บ้านใคร่นุ่น อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เพื่อขอเรียนรู้จากคุณยายเพชร วัย 83 ปี  คุณยายเพชรนัดหมายจอนนี่ว่าให้มาหายายที่บ้านก่อน 6 โมงเช้า  ยายจะพาจอนนี่ไปวัดป่าใกล้หมู่บ้าน  เพื่อถวายจังหาร (อาหารเช้า) ถวายบังสุกุล และสรงน้ำพระ จอนนี่ได้ช่วยคุณยายและชาวบ้านคนอื่น ๆ ที่มาทำบุญแต่เช้าที่วัดป่าวิมุตโต  ตั้งแต่เปิดศาลาการเปรียญ  ทำความสะอาดวัด เตรียมอุปกรณ์ ปูเสื่อ ตลอดจนทำบุญ ถวายอาหาร ถวายบังสุกุล กรวดน้ำและสรงน้ำพระ  

          เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจจากวัดป่าวิมุตโต  จอนนี่ก็ปั่นจักรยานตามคุณยายเพชรไปที่บ้านคุณยาย เพื่อเตรียมตัวไปถวายอาหารเพล ถวายบังสุกุลและสรงน้ำธาตุที่วัดพิไชยาราม วัดอีกแห่งในหมู่บ้าน ที่วัดแห่งนี้ ญาติๆ คุณยายเพชรมาร่วมทำบุญกับคุณยายด้วย  เพราะวัดนี้เป็นสถานที่เก็บอัฐิของญาติพี่น้องผู้ล่วงลับแล้วของคุณยาย  จอนนี่ได้เรียนรู้การทำบุญและสรงธาตุ (ระลึกถึงญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว) ที่วัดนี้  หลังจากที่จอนนี่ได้ทำบุญที่วัดทั้งสองแห่งกับคุณยายแล้ว  จอนนี่ก็ได้ร่ำลาและขอบคุณคุณยายเพชรมาก ๆ ที่ให้โอกาสจอนนี่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่นจากคุณยาย จอนนี่ได้เรียนรู้ถึงคุณค่าของสงกรานต์และความหมายของสงกรานต์ที่มีต่อคนไทย และความสำคัญของครอบครัวในวันสงกรานต์

          ปีที่แล้วจอนนี่ไม่ได้ฉลองสงกรานต์ที่มหาสารคาม  ปีนี้จอนนี่เลยอยากฉลองสงกรานต์ที่มหาสารคามดู  เพราะส่วนใหญ่คนมักจะพูดถึงการฉลองสงกรานต์ที่จังหวัดอื่นๆ เช่น กรุงเทพฯเชียงใหม่ ขอนแก่น หรือ อุดรธานี เพื่อนๆ จอนนี่ก็ไปฉลองสงกรานต์ที่อื่น  แต่จอนนี่อยากรู้จักมหาสารคามมากขึ้น เพราะจอนนี่รักมหาสารคามและมหาสารคามเหมือนเป็นบ้านหลังที่ 2 ของจอนนี่

          จากประสบการณ์สงกรานต์ปีนี้ของจอนนี่  จอนนี่ได้ “เห็นคุณค่าและความหมายของน้ำต่อคนไทยและวัฒนธรรมไทย ที่น้ำมีความหมายกับการดำรงชีวิตในทุกมิติ  การสรงน้ำพระ สรงน้ำผู้ใหญ่ สรงน้ำธาตุ กรวดน้ำลงดิน และการเล่นน้ำในวันสงกรานต์ ต่างแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของน้ำที่เชื่อมโยงคนเข้าด้วยกันอย่างมีความสุข”

Jonny, a British student studying the Thai language at Mahasarakham University, has developed a deep affection for Thailand and the Isaan region. His interest in delving deeper into Thai and local cultures led him to seek out authentic experiences, particularly during Songkran, the Thai New Year festival. Last year, he joyfully participated in the festivities with friends, but this year, he yearned to immerse himself more profoundly in local traditions. Eager to learn about the customs of Isaan families during Songkran, Jonny visited the home of Grandma Phet, an 83-year-old resident of Ka-Nun in the Kantharawichai District of Maha Sarakham Province. Arriving before dawn, Jonny joined Grandma Phet in a visit to a forest temple near the village, where they offered morning alms and prayers. He bathed the Buddha image alongside other villagers at Wat Pa Wimutto. After completing their duties at Wat Pa Wimutto, Jonny accompanied Grandma Phet back to her home to prepare lunch and participate in further rituals, including offering prayers and pouring water over relics at Wat Phichairam, another local temple where Grandma's relatives rest. Jonny gained insight into the significance of making merit and honouring deceased relatives, reflecting on the profound connection between tradition and family. Expressing his gratitude to Grandma Phet for the enlightening experience, Jonny departed with a deeper understanding of the significance of Songkran and its celebration within Thai culture, emphasising the importance of family bonds on this auspicious day. Unlike the previous year, Jonny chose to celebrate Songkran in Maha Sarakham this time, drawn by his affection for the city, which he considers his second home. Through his observations and interactions during the festival, Jonny came to appreciate the profound symbolism of water in Thai culture. From the ceremonial pouring of water on Buddha images and elders to the joyous splashing among friends, Songkran epitomizes the unifying power of water in fostering happiness and community spirit.




ดู 2 ครั้ง0 ความคิดเห็น

コメント


bottom of page